เอส. เค. โพลีเมอร์ จับมือ โออาร์ ผลิตยางกั้นล้อสำหรับที่จอดรถใน พีทีที สเตชั่น

 

เอส. เค. โพลีเมอร์ ควง โออาร์ กับ ไออาร์พีซี และ กยท.

ร่วมด้วยสหกรณ์กองทุนสวนยางฯ นำร่องโครงการเพิ่มมูลค่ายางพาราไทย เพื่อเศรษฐกิจยั่งยืน

OR ร่วมมือกับ S.K.Polymer

ในภาพ เรียงจากซ้ายไปขวา

  1. นายวิสูตร สุชาฏา ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางโสตประชา จำกัด   
  2. นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย  
  3. นายสุพจน์ สุวรรณพิมลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส. เค. โพลีเมอร์ จำกัด (SKP.)     
  4. นายพีระวัฒน์ วชิโรภาสนันท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดค้าปลีกน้ำมัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน) (OR)     
  5. นางสาววนิดา อุทัยสมนภา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พาณิชยกิจและการตลาด บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)     
  6. นายภาณุพันธ์ ทรัพย์จรัสแสง ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมสถานีบริการ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน) (OR)

” เอส.เค. โพลีเมอร์ ร่วมกับ โออาร์ ไออาร์พีซี และ กยท. ร่วมด้วยสหกรณ์กองทุนสวนยางโสตประชาฯ เปิดตัวโครงการเพิ่มมูลค่ายางพาราไทย พัฒนาศักยภาพของเกษตรกรอย่างยั่งยืน สร้างผลิตภัณฑ์คนไทยเพื่อแข่งขันได้ในตลาดโลก  และพลิกฟื้นเศรษฐกิจ คาด 2 ปีแรกสร้างเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 4 ลบ. “

         คุณสุพจน์  สุวรรณพิมลกุล  กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส. เค. โพลีเมอร์ จำกัด (SKP.) เปิดเผยถึง การทำโครงการเพิ่มมูลค่ายางพาราไทย ครั้งนี้ ซึ่งเป็นการผนึกความร่วมมือระหว่าง 3 บริษัท 3 หน่วยงาน ได้แก่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน) (OR) และบริษัท เอส. เค. โพลีเมอร์ จำกัด (SKP.) ร่วมด้วย บริษัท ไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน) (IRPC)  การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พร้อมด้วยสหกรณ์กองทุนสวนยางโสตประชา จำกัด

      สำหรับโครงการเพิ่มมูลค่ายางพาราไทย มีการผลักดันโดย บริษัท เอส. เค. โพลีเมอร์ จำกัด ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนยาง ร่วมกับ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน) ในฐานะผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ เริ่มต้นจากสินค้า RUBBER WHEEL STOPPER หรือ ยางกั้นล้อ สำหรับที่จอดรถภายในสถานีบริการน้ำมัน โดยได้รับการสนับสนุนจาก 3 องค์กร ได้แก่ กยท. ซึ่งมีพันธกิจหลักในการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่ายางพาราไทย ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพารา และ สหกรณ์โสตประชา ผู้เป็นสหกรณ์นำร่องที่ได้รับเลือกเป็นผู้ขึ้นรูปชิ้นส่วนยาง และ IRPC ในการสนับสนุนวัตถุดิบพลาสติกซึ่งเป็นชิ้นส่วนประกอบของยางกั้นล้อ

               นอกจากนี้ SKP. ยังเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต  การควบคุณภาพ  รวมถึงการประกันคุณภาพ  จากประสบการณ์กว่า 30 ปี แก่สหกรณ์กองทุนสวนยางโสตประชา ให้มีระบบการผลิตที่เป็นมาตรฐานสากล มีประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียจากของเสีย และการชำรุดเสียหายของเครื่องจักรและแม่พิมพ์ เพื่อให้ได้ยางกั้นล้อที่มีคุณภาพ และมีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก  พร้อมยังได้ปรับปรุงการดีไซน์แบบสินค้าให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ในด้านความทนทาน คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งานในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. และเกิดความคุ้มค่าสำหรับผู้ลงทุน โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายวิศวกรรม ของ OR ตั้งแต่การรวบรวมความต้องการไปถึงจนการติดตั้ง

                โครงการฯ นี้ยังช่วยลดภาระในการลงทุนของสหกรณ์ เนื่องจากการซื้อเครื่องจักรได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก กยท. และ การสร้างโรงงานได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สอดคล้องกับนโยบายเพิ่มความเข้มแข็งแก่เกษตรกรชาวสวนยาง เพิ่มมูลค่าและรักษาเสถียรภาพราคายางพาราไทยอย่างยั่งยืน

                 ยางกั้นล้อ หรือ RUBBER WHEEL STOPPER รุ่นนี้ ทางนักออกแบบของ SKP มีการปรับดีไซน์ส่วนบนเป็นวัสดุพลาสติกสีเหลืองที่ได้รับจาก IRPC ขึ้นรูปโดย SKP. ทำให้มีความทนทาน สวยงาม และปลอดภัยกว่าแท่งปูน ลดอันตรายจากการบาดเจ็บ กรณีผู้ที่ใช้งานเดินสะดุด ผ่านการทดสอบการชน 100 ครั้ง ด้วยรถยนต์ความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  โครงการฯ นี้นับเป็นโครงการนำร่องที่สามารถสร้างเม็ดเงินเริ่มต้นไม่น้อยกว่า 4 ล้านบาท ในระยะเวลา 2 ปีแรก ด้วยความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  พร้อมจะขยายผลไปติดตั้งใช้งานยังสถานีบริการน้ำมันให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

 

 

                   ทั้งนี้ SKP. หวังจะเป็นโครงการฯ ที่เชื่อมระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมในการร่วมพัฒนาโครงการผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากยางพาราไทย ที่ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานที่ครอบคลุมหลากหลายกลุ่มธุรกิจ  พร้อมกันนี้ยังเป็นการสนับสนุนเกษตรกรที่ปลูกยางพาราให้พลิกฟื้นขึ้นมาหลังวิกฤตเศรษฐกิจและโควิด  อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราไทย นำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราไทยอย่างยั่งยืน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

RUBBER PARTS FOR AUTOMOTIVE INDUSTRY

Rubber Picking Finger ยางถอนขนไก่

Thailand Rubber Parts